มาดูกันว่าขลุ่ยมีกี่ชนิดน๊ะ

 โดยทั่วไปขลุ่ยไทยมี 7 ชนิดดังนี้น่ะหนูๆ
        


 1.ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีกเป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซ็นติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้          2.ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยที่นิยมใช้เป่ามากที่สุด มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีระดับเสียงอยู่ในช่วงปานกลาง เมื่อปิดหมดทุกรูจะเป่าเป็นเสียง โด คนทั่วไปนิยมเป่าเล่น ใช้ในวงมโหรีหรือวงเครื่องสายทั่วๆไป โดยเป็นเครื่องตามหรืออาจใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวาก็ได้

         3.ขลุ่ยอู้เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออสามเสียง คือปิดหมดทุกรูเป็นเสียงซอล นิยมใช้ในเครื่องปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นดนตรีที่มีระดับเสียงต่ำ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้                                                                                           เนื่องจากหาคนที่มีความชำนาญในการเป่าได้ยาก

         4.ขลุ่ยเคียงออ หรือ ขลุ่ยกรวด เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยหลิบแต่เล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร ระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออหนึ่งเสียง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมมากนัก

         5.ขลุ่ยรองออ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยเพียงออและมีระดับเสียงต่ำกว่าหนึ่งเสียง อาจจะใช้ในวงมดหรีแทนขลุ่ยเพียงออในกรณีที่เต้องการเสียงต่ำ

         6.ขลุ่ยออร์แกน เกิดขึ้นเนื่องจากในระยะหลังวงเครื่องสายได้นำเอาเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาร่วมเล่นด้วย ซึ่งเรียกว่าวงเครื่องสายผสม เช่น เล่นผสมกับเปียโนหรือออร์แกน เป็นต้น

         7.ขลุ่ยนก ขลุ่ยชนิดนี้ใช้เป่าเป็นเพลงไม่ได้ เพราะมีเสียงไม่ครบเสียงดนตรี จึงใช้เป่าเป็นเสียงนกประกอบเพลงที่มีเสียงนก เช่น เพลงตับนก แม่ศรีทรงเครื่อง เป็นต้น ขลุ่ยนกมี 3 ชนิดได้แก่
          7.1 ขลุ่ยนกกางเขน ไม่มีรูนับเสียงรูปร่างลักษณะเป้นกระบอกไม้รวก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร และมีหลอดไม้ซางกลมๆ ขนาดพอๆ กับหลอดกาแฟ เป็นที่เป่าเสียบติดทะลุด้านข้างด้านหนึ่งของกระบอกเสียง เวลาเป่าต้องใส่น้ำลงในกระบอกให้ปลายหลอดส่วนล่างอยู่ในน้ำจึงจะเกิดเสียง
          7.2 ขลุ่ยนกโพระดก  หรือ  ขลุ่ยโฮกป๊ก ไม่มีรูนับเสียงเช่นเดียวกับขลุ่ยนกกางเขนรูปร่างลักษณะเป็นกระบอกไม้รวก ยาวประมาณ 18 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร เวลาเป่าต้องใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งอุดปลายส่วนล่างไว้จึงจะเป่าเป็นเสียง "โฮกป๊ก"
          7.3 ขลุ่ยนกกาเหว่า มีลักษณะเหมือนกับขลุ่ยเพียงออทุกประการ ถ้านำมาตัดเป็น 2 ท่อนให้เหลือรูนับไว้ 4 รูบน ก็จะได้ขลุ่ยนกกาเหว่า เวลาเป่าจะเป็นเสียง "กาเหว่า" ขั้นแรกเอานิ้วมือปิดรูนับทั้ง 4 รู และปิดนิ้วหัวแม่มือที่อยู่ด้านล่าง แล้วเป่าจะได้เสียง "กา" และหากเปิดนิ้วชี้บน นิ้วกลางบน นิ้วนางบน และนิ้วหัวแม่มือด้านล่าง หร้อมกับเป่าก็จะได้เสียง "เหว่า" เป็น "กาเหว่า"






                                                                   อ้างอิง
                           http://www.trsc.ac.th/web_load_st/school/aboutme.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น